Friday, September 6, 2013

NONTAWAT CHAROENCHASRI

ISSUE 04 : NONTAWAT CHAROENCHASRI – DESIGN DIRECTOR, DUCTSTORE THE DESIGN GURU CO., LTD.

นนทวัฒน์ เจริญชาศรี 
Design Director – DUCTSTORE the design guru Co.,Ltd.

The Passionate inspiration

แรงบันดาลใจจากการผสานความรู้ และความสนใจในด้านงานออกแบบหลากแขนง ทำให้เกิด DUCTSTORE the design guru ที่นนทวัฒน์ เจริญชาศรี ให้คำจำกัดความของงานออกแบบของตัวเอง ว่าเป็น “Graphitecture” ลูกผสมระหว่าง Graphic และ Architecture นับเป็นเวลากว่า 13 ปี บนเส้นทางที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ที่เขาได้สร้างผลงานที่โดดเด่น พาตัวเองและทีมงานผ่านบทพิสูจน์แห่งความเชื่อมั่นมาอย่างโชกโชน

จุดเริ่มต้นของ DUCTSTORE the design guru
เริ่มต้นจากสมัยเรียน คือ ผมเรียน 2 มหาวิทยาลัยพร้อม ๆ กัน คือ คณะสถาปัตยกรรม ม.รังสิต และครุศิลป์(สาขาวิชาศิลปศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่เรียนมีความคาดหวังว่า ต้องการนำความรู้ทั้ง 2 สาขาวิชานี้มาใช้สร้างผลงาน แต่ผมเองก็ยังไม่รู้หรอกว่ามันจะออกมาในรูปแบบไหน แค่มั่นใจว่าวันนึงเราต้องได้ใช้ประโยชน์จากทั้ง 2 สาขาวิชาที่เราเรียนนี้แน่นอน จนจบออกมาทำงานได้ 2 ปี และเกิดจุดพลิกผันในชิวิต คือถูกไล่ออกจากงานเนื่องจากเถียงเจ้านาย ตอนนั้นคิดได้ว่าตัวผมคงไม่เหมาะที่จะเป็นลูกน้องใครอีก ผมควรจะเริ่มต้นทำในสิ่งที่เราคิดจะทำมาตลอด จึงได้ตัดสินใจที่จะเปิดบริษัทของตัวเองจากนั้นเป็นต้นมา
บริษัท DUCTSTORE จึงได้เริ่มต้นขึ้น ในปี 2000 ตอนนั้นยังไม่ได้จดทะเบียนบริษัท ทำงานในห้องเล็ก ๆ เหมือนห้องลับในหนังไซไฟซึ่งมีทุกอย่าง แต่ผลิตงานออกมาให้ดูน่าสนใจได้  ชื่อบริษัทที่ตั้งขึ้น ผมตั้งใจที่จะให้ความหมายของชื่อมีความคลุมเครือไม่เฉพาะเจาะจง ทำให้คนฟังชื่อแล้วเกิดความสงสัยว่าคืออะไร ผมตั้งใจให้ DUCTSTORE เป็นบริษัทออกแบบที่มีความหลากหลาย “DUCT” มาจากคำว่า Product และต้องการให้อ่านออกเสียงเหมือนกับ DRUGSTORE ซึ่งเป็นร้านขายยา ทุกงานออกแบบที่ออกจากเรา ผมถือเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น Graphic Design / Interior / Architecture ซึ่งในช่วงเริ่มต้นคนจะเห็นงานของ DUCTSTORE เป็นพวกงานกราฟฟิกซะเป็นส่วนใหญ่ เช่น พวกปกอัลบั้มของศิลปินค่ายต่าง ๆ เช่น ปกของวง “2 days ago kids” และมีงาน Interior Design บ้างเล็กน้อย ทำให้เราเริ่มมีชื่อเสียงในวงแคบ ๆ และได้มีผลงานลงในนิตยสาร Art4D ทำให้คนเริ่มจับตามองว่าเราเป็นนักออกแบบหน้าใหม่ของวงการ
ผมเริ่มต้นตั้งบริษัทตอนอายุ 27 ปี งานที่เราได้ทำจะเข้ามาตามอายุเรา ส่วนมากจะได้ทำงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับพวกธุรกิจบันเทิง เพลง และเมื่อผลงานออกแบบปก CD วง Yokee Playboy  ได้รับรางวัลในงาน FAT Awards ครั้งที่ 1 ก็ทำให้ชื่อของ DUCTSTORE เป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น มีงานเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีลูกค้าที่เป็นองค์กรใหญ่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
หลังจากนั้นในปี 2004 ได้ทำ mock-up ให้กับนิตยสาร Wallpaper ฉบับภาษาไทย ซึ่งเป็นงานที่เราต้องแสดงให้ทางบริษัทต้นสังกัดที่ UK เห็นถึงศักยภาพว่าทางบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในประเทศไทยสามารถทำได้ และยอมขายลิขสิทธิ์ให้ ซึ่งเราก็สามารถทำผลงานออกมาได้เทียบเท่ากับฉบับของ UK ทำให้ Wallpaper เป็นนิตยสารหัวนอกที่มีความเป็นไทยร่วมสมัยที่น่าสนใจ มีเนื้อหาและสไตล์เฉพาะตัว ซึ่งผมได้รับหน้าที่เป็น Creative Director ของ นิตยสาร Wallpaper ฉบับภาษาไทยนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงเดือนกันยายนปี 2011 รวมระยะเวลา 6 ปีเต็ม และผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ผมจะต้องหันมาทุ่มเทให้กับ DUCTSTORE ที่กำลังเริ่มเติบโตมากยิ่งขึ้นให้เต็มที่กว่าเดิม

แรงบันดาลใจในการทำงาน
สำหรับผมเกิดจากแรงเสริมลบ เหมือนยิ่งกด ยิ่งระเบิด มันเริ่มตั้งแต่สมัยเรียน ที่เราตัดสินใจเรียนในมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่งพร้อมกัน ตอนนั้นก็มีรุ่นพี่อวยพรว่า เดี๋ยวก็รีไทร์ทั้ง 2 ที่ เราฟังแล้วก็พูดกับตัวเองว่า “เดี๋ยวจะทำให้ดู ผมอยากไปในที่ที่น้อยคนจะไปถึง อยากพิสูจน์ว่า ทุกอย่างเป็นไปได้ ” ก็ดันทุรังเรียนมาจนจบ เช้าไปเรียนจุฬา ตอนบ่ายตรวจแบบที่ ม.รังสิต ซึ่งต้องใช้เวลาเรียนที่จุฬา ถึง 6 ปี เพราะเราไม่มีเวลาเรียนในช่วงแรก ๆ และ ดรอปไว้เพื่อทำ thesis ที่ สถาปัตย์ รังสิต จนผมสามารถเรียนจบทั้ง 2 ที่ได้ภายในเวลา 7 ปี พอมาทำงานก็เกิดจุดเปลี่ยนอีกอย่างที่กล่าวไปตอนต้น คือการโดนไล่ออกจากงาน ช่วงนั้นเรารู้สึกว่าเราเหมือนตกตึก เพราะเราคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว แต่เราก็ผิดเพราะไม่ยอมทำตามแบบที่เจ้านายสั่ง แต่มันก็เป็นจุดเปลี่ยนที่สร้างโอกาสที่ดีในชีวิตให้เริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ จนถึงปัจจุบัน ถ้าไม่มีวันนั้น ผมคงไม่มีบริษัทของตัวเองและไม่ได้เป็นนักออกแบบจนถึงทุกวันนี้
สำหรับแรงบันดาลใจในการสร้างผลงาน คือ การผสมผสานความรู้ที่เรามีให้ออกมาเป็นงานออกแบบใหม่ ๆ ผมเรียกว่ามันเป็น Hybrid Design โดย Signature ของเราคือ ความเป็น Graphic และ Architecture เราทำงานออกแบบทุกประเภท และมันเริ่มมาชัดเจนช่วง 4-5 ปีนี้ ผมมองว่างานออกแบบทุกประเภทมันส่งอิทธิพลถึงกันหมดไม่ทางตรงก็ทางอ้อม  เหมือนถ้าเรามองแนวโน้มงานออกแบบในปัจจุบันจะเห็นว่า สไตล์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากการผนวก และผสมผสาน สไตล์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เป็น Fusion Design และเกิดลักษณะเฉพาะของตัวเอง กลายเป็นแนวโน้มงานออกแบบใหม่ ๆ ของโลก ผมสนใจงานออกแบบเกือบทุกประเภท ทำให้มีข้อมูลมากพอที่จะนำมาเชื่อมโยง คาดการณ์ และสร้างงานให้มันมีรูปแบบเฉพาะตัวได้ ผมชอบรูปแบบของความขัดแย้งในงานออกแบบ มันทำให้เกิดภาษาใหม่ ๆ ของผลงาน  เกิดการถกเถียงและวิพากษ์ เกิดการการตั้งคำถามและประสบการณ์การรับรู้ใหม่ๆ


ผลงาน และความภูมิใจในการทำงาน
งานดีไซน์บางอย่างมันไม่สามารถตัดสินว่าดีหรือไม่ดีในระยะเวลาอันสั้น ความคิดใหม่ ๆ ต้องฝ่าฟันอุปสรรค แรงต้านหลายอย่างทั้ง ลูกค้า งบประมาณ โจทย์ แต่เมื่อเราต้องการให้สิ่งที่เรานำคิดถูกนำมาใช้งาน เราก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นให้ได้ แต่ต้องอยู่ในพื้นฐานของความเป็นไปได้ สิ่งที่ผมภูมิใจคือ ผมได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงานออกแบบในประเทศ สิ่งที่ผมทำออกมา มันได้ส่งผลบางอย่างในวงการออกแบบของไทย เกิดรูปแบบใหม่ ๆ สไตล์ใหม่ ๆ เกิดการตื่นตัว การผสมผสาน ดีไซน์มันอยู่ในชีวิตผม และมันถูกนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ออกมาเป็นงาน มันคือความภูมิใจในอาชีพที่รัก
งานล่าสุดเราทำให้กับ TMB เป็นการออกแบบธนาคารสาขารูปแบบใหม่ในห้างเซ็นทรัล พระราม 9 ซึ่งเป็นการทำให้เกิดภาพลักษณ์
ใหม่ ๆ ที่ดีต่อธนาคาร และธนาคารเองก็เปิดกว้างมาก ยอมรับรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม เป็นตัวอย่างของการร่วมมือกันที่ดีของนักออกแบบและลูกค้า
อุปสรรคและการแก้ไขปัญหา
ผมมองว่าเป็นเรื่องของการให้คุณค่างานออกแบบของลูกค้า ถ้าลูกค้ามีความเข้าใจในเรื่องการออกแบบที่ดี มิวิสัยทัศน์ งานก็จะออกมาดีมาก ๆ ผมชอบทำให้สุดเพดานเท่าที่เราทำได้ตามความเป็นจริง เราต้องทำให้เขาเชื่อมั่น และทำในสิ่งที่ถนัด  สมมุติมีคนให้ผมทำงานออกแบบไสตล์ Neo Classic ผมก็คงปฏิเสธ เพราะผมไม่ถนัดแนวนี้
มุมมองต่อแนวโน้มของบริษัทผู้ออกแบบในบ้านเรา
ตลาดงานออกแบบในบ้านเราเกิดบริษัทใหม่ ๆ ออกมาเยอะมาก เนื่องจากธุรกิจตรงนี้ต้นทุนที่สำคัญคือ “สมองและความคิดสร้างสรรค์” แต่ถ้าไม่อดทนพอ ก็จะเกิดการล้มหายตายจาก ผมมองว่าเป็นเรื่องของวิธีคิดมากกว่า ว่าเราทำงานเพื่ออะไร สำหรับผม เงินเป็นคำตอบสุดท้าย ผมมี Passion ในการทำงานเป็นที่ตั้ง เป็นตัวผลักดันในการสร้างงาน ซึ่งถ้าเราตั้งใจและใส่ใจในทุกรายละเอียดของงานที่เราทำ เราก็จะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าเสมอมาอย่างที่เป็นเช่นทุกวันนี้
ผมมองว่าแนวโน้มของบริษัทออกแบบยุคใหม่ต้อง downscale ลงมา ไม่ต้องใหญ่มาก แต่สามารถรองรับงานได้หลายประเภท ครบวงจร รวดเร็วและมีคุณภาพ ปัจจุบันดีไซน์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว มันแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของเราแล้ว

วิธีการบริหารงาน
ตอนเริ่มต้นบริษัท ผมต้องไปดูแลลูกค้าเอง เป็นทั้งเออี เป็นบัญชี ตอนนี้มีน้องสาวมาช่วยในส่วนนี้ ลูกค้าก็จะคุยกับเขา ถ้าคุยเริ่องดีไซน์ลงรายละเอียดผมก็จะไปคุยกับลูกค้าเองโดยตรง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า ถ้างานไหนที่เรารับออกแบบ เราก็จะทำให้เต็มที่ ให้เกินความคาดหวังของลูกค้า
การตั้งรับต่อการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ผมมองว่า บริษัทเปิดมา 13 ปี ผ่านการพิสูจน์หลายอย่างจนปัจจุบันมีองค์กรขนาดใหญ่ไว้ใจเรา จนทำให้ไม่รู้สึกว่าตัวเราเองจะต้องไปหาตลาดลูกค้าในต่างประเทศด้วยตัวเอง เพราะในขณะนี้ก็มีลูกค้าที่ไปเปิดตลาดในกลุ่มอาเซียน ให้เราออกแบบผลงานที่จะนำไปใช้กับบริษัทในเครือในประเทศกลุ่มอาเซียน ซึ่งตรงนี้ก็เปรียบเหมือนเราได้โอกาสนำเสนอผลงานของเราไปสู่ AEC โดยทางอ้อมเช่นกันและส่วนตัวผมก็ไม่กลัวการหลั่งไหลของดีไซนเนอร์ต่างชาติเมื่อมี AEC เพราะงานดีไซน์มันมีลักษณะเฉพาะ ผมโฟกัสที่ลูกค้าในประเทศที่เราจะช่วยเขาพัฒนามากกว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งลูกค้าที่เข้ามาแล้วตรงกับการสไตล์งานของเรา ผมมีทีมงานที่แข็งแกร่ง สามารถรับแรงกดดันสูงได้ มีความรวดเร็ว เพราะปัจจุบันการแข่งขันสูงเราก็ต้องตอบความต้องการของลูกค้าได้ทัน บางทีทำงานกันเป็นหลักชั่วโมงก็ต้องเค้นออกมาให้ได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีที่สุด
การทำแบรนดิ้งของบริษัท
ผมไม่รู้ว่าใครรู้จักเราบ้าง เพราะไม่ค่อยได้ทำโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ แต่มองว่าที่คนรู้จักเราตอนนี้ เป็นการแนะนำแบบปากต่อปากมากกว่า ผมมั่นใจว่า ถ้าเรายืนถูกที่ ถูกเวลา จะทำให้คนที่ใช่มาเจอเราเอง โดยที่เราไม่ต้องดิ้นรนในเรื่องการประชาสัมพันธ์มากนัก
ความกังวลในการทำธุรกิจ
เนื่องจากว่าบริษัทออกแบบแบบเราไม่มี contract เรื่องการว่าจ้างในระยะยาว มันก็กังวลอยู่บ้าง แต่ถ้ามองแล้วการทำธุรกิจ ทุกคนก็ไม่มั่นคงเหมือนกันหมด เราอาจจะเจอการเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ก็ได้ แต่การที่ผ่านมาถึง 13 ปี ที่เริ่มต้นจากศูนย์ ผมบอกตัวเองว่า ผมไม่เคยกลัว มันก็ผ่านมาได้มาตลอด ถึงเวลาก็จะมีงานเข้ามาเอง
มุมมองต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน
งานออกแบบรับใช้ผู้บริโภค ซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย คือเราต้องรู้ทัน ต้องเข้าใจทุก Segment ในทุกกลุ่มเป้าหมาย คือถ้าเราสามารถเข้าใจและแยกแยะเรื่องสไตล์ เรื่องคาแร็กเตอร์ที่ใกล้เคียง ในแต่ละอย่างได้ละเอียดเท่าไหร่ก็ยิ่งได้เปรียบ เพราะสินค้าบางประเภทไม่ได้ต้องการขายทุกคน ประสบการณ์พวกนี้มันเกิดจากการใช้ชีวิตของเรา การอ่านหนังสือ ดูหนังสือ ท่องเที่ยว ใช้ชีวิต เรียนรู้เรื่องสไตล์ ยกตัวอย่าง เฟอร์นิเจอร์หนึ่งชิ้น เราจะต้องรู้ว่าใครเป็นคนซื้อ ก็ต้องตีความในแง่ Visual ที่จะสื่อสารออกไป ว่าพูดกับใคร ลูกค้าแบบนี้ คนแบบนี้จะใช้ของแบบไหน เราควรทำอะไรให้เขาบ้าง ซึ่งตรงนี้ถ้าเราเข้าใจก็จะสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบได้เลย
พฤติกรรมผู้บริโภคทำให้เราคิดอะไรออกไปได้อย่างต่อเนื่องมาก    ผมมองว่าเทรนด์ของ User มันแพร่กระจายไปเร็วมาก เพราะทุกคนเสพสื่อเหมือนกัน ไม่ได้จำกัดอยู่ที่กรุงเทพเท่านั้น แต่เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่นก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกัน เพราะทุกคนมีสมาร์ทโฟน มีอินเตอร์เนต ถ้าเราตาม User ไม่ทัน คุณก็อาจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
โปรเจ็คในอนาคตอันใกล้
ในช่วงชีวิตการทำงาน ได้ทำนิตยสารมาประมาณ 8 เล่ม การที่เป็นคนชอบตั้งคำถามถึงการผสมผสานในหลาย ๆ อย่าง มันทำให้อยากทำนิตยสารที่เป็นฟิวชั่นออกมา แต่คงต้องรอให้ถึงเวลาที่เหมาะสมก่อน  เรื่องคู่แข่งผมไม่เคยสนใจ เพราะเป็นเพื่อนในวงการเดียวกันหมด ยิ่งคนทำงานดีเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีต่ออาชีพของพวกเรา ทำให้นักออกแบบจะมีสังคมที่เหนี่ยวแนน หมดยุคข้ามาคนเดียวแล้ว ตอนนี้มันคือการรวมพลังของนักออกแบบ มันมีเรื่องใหม่ ๆ ให้ทำไปด้วยกัน  ยกตัวอย่าง
การ Collaborate ระหว่างแบรนด์สินค้ากับศิลปิน หรือ นักออกแบบต่าง ๆ มันก็จะเกิด essence ใหม่ ๆ
ของแบรนด์ เป็นการทำแบรนดิ้งยุคใหม่ที่น่าสนใจ ทำให้เกิดความท้าทายและทำให้แบรนด์มีความน่าตื่นเต้น
ในฐานะผู้บริหารกับการสร้างคน
ทีมงานของ DUCTSTORE ผมคัดเลือกจากคนใกล้ชิดก่อน แต่การจะรับเข้ามาเราก็ต้องดูทัศนคติของเขา ผมชอบสร้างทีมเล็ก ๆ เคลื่อนตัวง่าย เหมือนกองโจรหรือหน่วยรบพิเศษ ซึ่งมีความสามารถรอบตัว เเก้ปัญหาได้ดี การเลือกทีมของผมมันค่อย ๆ เลือกสรร โดย 70% ขึ้นไปทำงานร่วมกับผมมาอย่างน้อย 8-13 ปี ไปไหนไปกัน ส่วนใหญ่เป็นสายสัมพันธ์เเบบใกล้ชิด เป็นญาติพี่น้องผม 2 คน เป็นรุ่นน้องมหาวิทยาลัย 2 คน เป็นลูกศิษย์ 1 คน เป็นนักศึกษาฝึกงานมาก่อน 3 คน เป็นคนใกล้ชิดน้องในทีม อีก 2 คน กว่าจะมีคนเข้ามาใหม่ในทีมเรา ผมค่อนข้างคัดสรร เราทำงานกันเหมือนเป็นพี่น้อง ผมเลือกคนจากทัศนคติ บุคลิกเเละความอดทน มากกว่าความเก่ง ซึ่งจริง ๆ ความเก่งมันฝึกกันได้ เเต่ทัศนคติมันเปลี่ยนกันยาก ผมบอกทีมผมว่าทำงานที่ไหนก็เหนื่อยทุกที่ แต่สำคัญคืออยู่อย่างไรให้แฮปปี้ ที่นี่ผมจะเป็นเจ้านายเเละพี่ที่ดีที่สุดในเวลาเดียวกันของพวกเขาเท่าที่ผมจะทำได้ เวลาพวกเราทำงาน ทุกคนทำเต็มที่ หลัง ๆ ผมเห็นการเเก้ปัญหาต่าง ๆ ของทีมผมในระดับความกดดันหนัก ๆ ได้อย่างดีมาก มีการสอนเเละช่วยเหลือกันเกือบทุกงาน ทำให้งานเสร็จเร็วเเละมีหลายทางเลือก การมีคนเยอะ ๆ ในทีม สำหรับผมมันเคลื่อนตัวช้า เวลาคนเยอะ ๆ ผมจะไม่มีอารมณ์ทำงาน และทำให้สายงานมีหลายเลเยอร์ ผมชอบอะไรที่ยืดหยุ่น ไม่ตายตัว บางทีเป็นเเบบเเนวตั้ง มีหัวหน้าลูกทีม บางทีเป็นเเบบเเนวนอน ทุกคนเท่ากัน คนที่เข้ามาทำงานกับเรา ก็ต้องเชื่อมั่น ชื่นชอบสไตล์ วิธีคิดงานของที่นี่อยู่แล้ว ผมมีทิศทางให้ชัดเจน แต่ไม่ได้จับมือเขาทำ สิ่งสำคัญคือเขาต้องได้รับความสุขจากการทำงาน และได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มที่ ไม่ใช่ผมรวยคนเดียวแต่ลูกทีมลำบาก ถ้าผลตอบแทนดี เขาไม่ต้องกังวล เขาก็เต็มที่กับงานได้
ความเป็นตัวตนของ DUCTSTORE ที่ต้องสื่อออกไปถึงลูกค้า    
การออกแบบร่วมสมัยมันปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิต และทัศนคติของผู้คนในสังคม ผมค่อนข้างโชคดีที่งานเละลูกค้าที่เข้ามามันแมทช์กับเรามากขึ้นเรื่อยๆทุกปี เวลามีโจทย์เข้ามาเราจะรู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร การทำงาน เราจะแชร์กันระหว่างเรากับลูกค้า ผมจะไม่ยัดเยียดงานออกแบบของเราให้กับลูกค้า เป็นการเลือกทางแก้ปัญหาให้เขามากกว่า เพราะถ้างานมันออกมาไม่ดี มันก็เป็นอนุสาวรีย์ที่ฆ่าเรา เราต้องทำให้เขาไม่ได้รับความเสี่ยง คือนักออกแบบที่ดีต้องสามารถทำงานภายใต้โจทย์ในข้อจำกัด และคาดการณ์ผลของงานออกแบบว่าจะช่วยทำให้ลูกค้าและผู้บริโภคดีขึ้นได้อย่างไร ผมชอบคิดงานบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ไม่ได้เพ้อฝันเกินจริง แต่เรากล้าที่จะทำและมันก็เกิดสิ่งใหม่ ๆ แต่นั่นต้องตอบคำถามลูกค้าได้ ให้เขาเห็นภาพได้ว่าเราจะทำอย่างไร ให้เขามั่นใจ เราทำเต็มที่ ผมมองว่ามันเป็นความจริงใจ งานไหนเราไม่ถนัดไม่เคยทำก็บอกเขาตรง ๆ และทุกงานมันก็ต่อยอดในการพัฒนาชิ้นงานต่อ ๆ ไปของเราด้วย เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง
คำแนะนำสำหรับเด็กรุ่นใหม่ ๆ ที่สนใจทำงานในแวดวงนักออกแบบ
ผมมองว่าเด็กรุ่นใหม่ที่อยากจะทำตรงนี้ ในแง่การเตรียมตัว มันง่ายมากเลยนะ เพราะเขาสามารถที่จะรู้ว่าอยากทำอะไรได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ สมัยก่อนเราอาจรู้แค่ว่าอยากเป็นสถาปนิก อยากทำงานออกแบบ แต่ปัจจุบันเราระบุอาชีพได้เลย เช่น อยากเป็นสไตลิสต์ จิเวลรี่ดีไซน์ ตัวอย่างมีให้เห็นมากมาย ผมมองว่านักออกแบบเป็นอาชีพต้นทางธุรกิจ ทำอะไรก็ต้องใช้ design เป็นจุดเริ่มต้น สิ่งสำคัญคือการพัฒนาทักษะการทำงานต้องโดดเด่น ทุกคนอยากเป็นดีไซเนอร์ แต่การทำงานต้องมีความอดทน ไม่ท้อถอย จะอยู่บริษัทใหญ่ ๆ ก็ต้องพัฒนาตำแหน่งงานให้สูงขึ้นไป สะสมโพรไฟล์การทำงานที่ดี จะตั้งบริษัทเองก็ต้องรู้ตั้งแต่รากฐานเพราะปัจจุบันการแข่งขันสูง ผมอาจจะทำตรงนี้ด้วยการเกิดจุดพลิกผันในชีวิต แต่บางคนอาจมีความพร้อมมีมากกว่า มีเงินลงทุน ซึ่งอาจจะประสบความสำเร็จมากกว่าก็ได้ แต่ผมว่าเมื่อต้นทุนของชีวิตไม่เท่ากัน แรงผลักดันก็ต่างกัน มันไม่มีข้อกำหนดตายตัว สุดท้ายแค่ทำในสิ่งที่ชอบและใช่ มันจะทำได้ตลอดทั้งชีวิต
แนวคิดในการทำงานและการใช้ชีวิต
ผมชอบเรื่องอะไรที่แย่ ๆ มันเป็นแรงเสริมด้านลบที่ดี เวลาคนดูถูก หรือมองเราอย่างผิวเผินแค่ภายนอก มันทำให้ผมได้เปรียบอย่างสุด ๆ ผมแค่แข่งกับตัวเอง เพราะทุกอย่างมันต้องพิสูจน์ให้เห็นจากผลงานที่ทำ ถึงบางครั้งจะมีท้อบ้าง เหนื่อยบ้าง แต่ก็เป็นอาชีพที่ผมไม่ต้องฝืน มันเหมือนกับผมเล่นสนุกกับงานที่ผมรักตลอดเวลา ทำให้มีแรงกลับมาทำงานได้เรื่อย ๆ ผมให้ความสำคัญกับทีมงานของผม เวลามีหนังสือมาถ่ายรูปขอสัมภาษณ์ ผมก็มักจะกล่าวถึงทีมงานด้วยเสมอ เพราะทุกคนคือส่วนหนึ่งของ DUCTSTORE the design guru ถ้าไม่มีเขา เราก็อาจจะมาไม่ถึงตรงนี้ งานออกแบบมันมีความเป็นทีม
เวิร์กมาก การเติบโตทางธุรกิจตอนนี้ ผมไม่ได้มีแพลนล่วงหน้าอะไรมากนัก แค่ค่อย ๆ ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบไปเรื่อย ๆ เท่านั้น และผมก็มั่นใจว่า DUCTSTORE ของผมมีทิศทางการออกแบบที่ชัดเจน และมีทีมงานที่พร้อมทำงานที่ท้าทายใหม่ ๆ เสมอ
เมื่องานดีไซน์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตผู้คนแทบจะทุกขณะ DUCTSTORE คือบริษัทออกแบบที่ตอบโจทย์การเดินไปข้างหน้าของโลกที่โดดเด่น ภายใต้สโลแกนของบริษัท “Relieves and Solves the Design Crisis”

INSPIRED BY INTEREST AND KNOWLEDGE OF VARIOUS SCOPES OF DESIGN WORKS, NONTAWAT CHAROENCHASRI, THE DESIGNER DIRECTOR HAS
FOUNDED DUCTSTORE THE DESIGN GURU CO., LTD. FOR MORE THAN THIRTEEN YEARS. HE DEFINES HIS PROFESSION AS A HYBRID, GIVING THE TERM, “GRAPHITECTURE.”HE AND HIS TEAM CREATED MANY NOTABLE WORKS WITH A STRONG BELIEF THROUGH ALL THE HARD TIMES.
The beginning of DUCTSTORE
It’s all began when I was a student with two majors where first one was at Faculty of Architecture, Rangsit University and second one is in Department of Art, Music and Dance Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University. From the start of the courses, I’ve got an objective to mix what I’ve learnt from those 2 faculties and create my own work. At that time, I still didn’t know what it would be until I’ve graduated and worked as a creative director. The turning point was that I got fired. Then I found that I couldn’t be a subordinate and I wanted to do something on my own.
DUCTSTORE was founded in 2000 but still unregistered. We used to work in a small room, like in sci-fi movies, which is a full-equipment room that we could deliver interesting works. The name of the company itself is not specific and is intended to make people question what it is. I intended to make DUCTSTORE a design firm that designs various things. “DUCT” refers to “product” and it is pronounced like “DRUGSTORE.” Every single design we made; could it be graphic design, interior design, or architectural design, is regarded as a product. Firstly, our works are mostly graphic design instead of interior design such as CD covers for many artists like 2 Days Ago Kids of Bakery Music and some interior projects which drawn some attention. Then we are mentioned in Art4D Magazine which made us a rookie of the industry.
I founded the company when I was 27. Most of our works are related to entertainment business. When one of our works, a Yokee Playboy’s CD cover, won the 1st prize from FAT awards, DUCTSTORE was more recognized and had more corporate works.
Moreover, in 2004, there was an art direction for the Thai Edition of Wallpaper Magazine which was a work we have to prove ourselves to the parent company that the company who held the authority over Thai Edition could do that. The result was that the Thai Edition has its Thai style, unique content, and has the same level as the original UK edition. I, myself, was the creative director of this edition from the start until 2011. It’s been 6 years and I thought it was time for me to focus on DUCTSTORE’s growth again.
The inspiration
For me, I would say my energy is derived from pressure. It seems like the more negative force I’ve got, the more power I have. Back to when I was a student, I chose to study in those two universities at the same time and I thought I could take advantage from knowledge I will gain there but there was a senior who insulted me that I will fail from both universities. I said to myself “Hey, I will show him that I can do it. I will do what people can hardly do it and I will prove that everything is possible.” Later, I tried so hard to graduate. I used to drive to Chulalongkorn in the morning and then drive to Rangsit in the afternoon. It took 7 years to graduate from both. When I graduated and worked in a company, I was fired like I said before and I felt like I fell down from a building. I thought I did my best but it was not. It was my fault that I didn’t do what my boss ordered me to do. These events are all my negative force that helped me do many things. It was a turning point that gave me a chance to found my own company and be a designer like I am today.
Another inspiration is to synthesize my knowledge to a brand new design. I call it “Hybrid Design.” Our signature is the fusion of graphic and architecture. We design everything and it’s obvious since 4-5 years ago. I think all kinds of design affect each other. If you look at the latest trend, you will see that new styles are made of everything mixed together as a fusion design. They are unique and become the world’s trends. I like all kinds of design which give me enough information to link, to predict, and to make a unique work. I like the contrast in design. It creates new languages among design works, arguments, reviews, questions, and learning experiences.
Portfolio and pride
New design theory always takes quite sometimes to be accepted.  New ideas have to struggle all the obstacles such as the customers, budget, and objectives. However, when we want to deliver a strong idea, we have to make others believe but based on possibility. I am proud of being a part of design movement in Thailand and create something new such as new patterns or new styles. Design is my life. It’s been analyzed and synthesized to make my new work. That’s my pride.
Our latest work, designed for TMB, is a branch in Central Rama 9. It’s the attempt to change the perception towards the bank which people think it’s conservative. The bank is open-minded, giving us a chance to create new perception possible. It’s a good example of collaboration between designers and customer.
Obstacles and solutions
I think it depends on customer’s appreciation towards design. If they understand what a good design is and have a good vision, a good work will definitely come. We just do our best. It’s because we will face all sorts of circumstances, if we are not experienced enough; the customers will not trust us. We have to make them trust and importantly, I do what I am good at.  Suppose that there is a customer who asks me to design something in Neoclassical style, I will reject it because it’s not my expertise.
Your vision towards design industry in Thailand
There are numerous numbers of new-born companies in design industry of our country because in our business, brain and creativity is the only fixed cost.  However, we have to be very patient or we would disappear very soon.  I think it bases on thoughts for what is your main objective of working? For me, money is the last. It is passion that drives me to work. Then, the reward would come. If we focus on the details of the work, we will be always trusted by the customers as we are these days.
According to the trends, I think a design company should downscale itself. There’s no need to be a big company but you need to be able to support various customer’s requirements, be a one-stop service, and work fast and with high quality. Nowadays, design is in the air. It is hidden in our everyday life.
Your management style
At the beginning of my company, I had to be a salesman, an accountant.  Now, my sister comes to help me in this department. She talks to customers but if it considers design in detail, I would be the one who you can contact with. This is to make the customer trust us more. We also do our best to surpass the customer’s expectation.
Getting ready for AEC
From 13 years of experience, we were approved by large organizations from many things we’ve done. I don’t think we have to find any foreign customer. We even created a corporate design for a company group who joins the ASEAN trade. This is a chance to indirectly promote our work to the AEC.
Personally, I’m not afraid of incoming foreign designers from AEC because design is different in each country. I prefer focusing on local customers who I will help them grow. Last 3 years, we are on the good path in such a competitive market so I would say competition makes us go faster.
What are your keys for corporate branding?    
I don’t really know how popular we are because we’ve never done corporate branding for our company. I believe that our works itself that promote who we are.  Works will come at the right time I believe.
What do you see as obstacles in this business?
Because we don’t have long term contract with our costumers but I think nothing is stable, we might be change.  For 13 year, I’ve started from zero so I actually have nothing to lose.
Your perspective towards the consumer behavior?
Design serves the consumers’ needs which are changing over time. We have to catch them up and understand every segment and target group. The more detailed we can classify their styles and characters, the more we will get the upper hand because some sorts of products are not for everyone. These experiences come from our way of living, reading, traveling, and learning. For example, suppose that we are selling a piece of furniture. We have to know that who exactly will buy this kind of furniture. You have to communicate visually. You have to think what you will do for the customer. If you do understand it, you can get the idea what you should design.
Consumer behavior will help us extending the ideas. The user’s trends are spreading so fast due to the media. It is not limited only in Bangkok anymore. People in Chiang Mai, Chon Buri or Khon Kaen can access the same information because everyone has a smartphone and internet. If you cannot catch them up, you might be left behind.
Your coming next projects?
In my working experience, I’ve been involved in making 8 magazines in total.  I want to make a magazine is the fusion of many things.  I like collaborations of designers, of ideas, in order to create new things. It is very challenging.
As a CEO, what is your way for human resource management?
I mainly select people who are close to me but I have to analyze his perspective. I would see his life style and how it would fit DUCTSTORE culture. I like building a small team which is flexible. It looks like a guerilla or special forces which the members are skillful. 70% of the team has been working with me for 8-13 years. Mostly, we have an intimate relationship; 2 of them are my cousins, another 2 are my junior from the university, 1 is my student, 3 are my trainees, and another 2 is their close friends. We work together like brothers and sisters. I chose a new staff from his attitude, personality, and tolerance, instead of proficiency. Everyone is trainable but attitude is very difficult to change. I always say that everywhere is hard work. You won’t get high salary from a laid back work.  I would say be happy.  I will be their boss and brother at the same time as much as I can. Recently, I saw my team can work very well under pressure, teach and help each other. It makes us work faster and still have some options left. Having too many people in a team is annoying and it makes everything slow. I like flexibility. People that want to work here must trust and believe in the same goal as one. I would guide them but never tell exactly how to.  I also believe that good rewards belong to good thoughts and ambitions.
The DUCTSTORE’s identity you want to tell the customers
A contemporary design is changing according to people’s way of living and attitude. I am lucky that I have more and more customers who match the way we work. We know how to solve the problems when we’ve got the requirements. We always share ideas with the customers and never force any idea to them. It seems like providing them solution because it would be a living disaster if the result is bad. A good designer should be able to work under limitations and also know how to help the customers and consumers. I like thinking based on possibility. We could create new things but we have to make the customers believe. If there’s a job we are not so good at or never do before, we will reject it. We keep on learning and developing from every single work we did.
Suggestions for new generation that wish to be a part of design industry.
Young generation has lots of time to prepare and to become what he/she wants to be because they discover faster than our generation.  They are also so many courses to support what they want to learn.  So, I suggest that making a plan is the key to success.  Patient is another important factor.  Do not give up easily. If you want to be in a big firm, you have to move forward and get ahead.  If you want to have your own firm, you have to know everything from the foundation.  I came into this business by accident but some people have everything ready in term of financial or whatsoever.  They would succeed more than I do. We all don’t have to same capital, same intuition, or pressure.  At the end, I suggest you do what you love.  So, you don’t have to work a day in your life.

Your working style and life style
As I’ve mentioned earlier, I work better under pressure.  When people insult us in some ways, we do not have to take it seriously but I see it as an advantage. Sometimes I feel tired and get discouraged but I always have fun doing the job I love. While interviewing, I always mention my team. I think everybody here in DUCTSTORE the design guru is important. I will never be here without them. Teamwork is very important in a design business. About the growth of the company, I don’t plan that much for the future. I just do what I like. I believe that DUCTSTORE has its unique style and our team is ready to create a new challenging work.
When design is all around and it integrates into our ways of living, DUCTSTORE is the design hub that ready to move forward with today’s world.  “Relieves and Solves the Design Crisis” in his own way.

Achiever Forum . Com


http://achieverforum.com/category/column/live-green/