การอ่านภาพจากสื่อด้วยวิธี semiotic analysis
วิธีการถอดระหัสภาพจากสื่อ
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความนี้ยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4
เผยแพร่ครั้งแรกบทเว็ปมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547
วิธีการถอดระหัสภาพจากสื่อ
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความนี้ยาวประมาณ 14 หน้ากระดาษ A4
เผยแพร่ครั้งแรกบทเว็ปมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547
Reading Images : การอ่านภาพ
บทความชิ้นนี้มาจากหนังสือเรื่อง Media and Society ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Michael O' Shaughessy และ Jane Stadler สำนักพิมพ์ Oxford University Press ปีที่พิมพ์ 2002 (ในส่วนของ Part 2 เรื่อง Picture, หัวข้อที่ 8. Reading Images หน้า 86)
บทความชิ้นนี้มาจากหนังสือเรื่อง Media and Society ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Michael O' Shaughessy และ Jane Stadler สำนักพิมพ์ Oxford University Press ปีที่พิมพ์ 2002 (ในส่วนของ Part 2 เรื่อง Picture, หัวข้อที่ 8. Reading Images หน้า 86)
ตัวอย่างต่อไปนี้ได้นำเอาภาพถ่ายมาใช้เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพถ่ายในงานโฆษณาต่างๆ. ภาพโฆษณาต่างๆเป็นแหล่งที่ใช้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ในเชิงสัญศาสตร์ (semiotic analysis) ที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์: ปกติแล้ว ภาพเหล่านี้จะเป็นการรวมตัวกันของภาพและข้อมูล; พวกมันจะถูกประกอบเข้าด้วยกันอย่างค่อนข้างระมัดระวัง เพื่อที่จะได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อผู้ดู ภาพเหล่านี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อ แต่มันจะได้ผลก็ต่อเมื่อ พวกมันได้ทำให้ผู้ดูทั้งหลายเกิดความพึงพอใจขึ้นมาบางอย่างเท่านั้น
ภาพโฆษณาเหล่านี้ เป็นสิ่งที่แพร่หลายดาษดื่นอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตก; บ่อยครั้ง ภาพเหล่านี้ได้เผยให้เห็นถึงท่าทีหรือทัศนคติต่างๆทางความคิดที่สำคัญ; และเพราะว่าพวกมันถูกทำให้เป็นภาพนิ่ง บ่อยทีเดียว มันจึงง่ายที่จะวิเคราะห์มากกว่าภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าได้ทึกทักว่าบรรดาผู้ทำโฆษณาทั้งหลายรู้หรือกังวลใจเกี่ยวกับสัญศาสตร์ แม้ว่าบางคนอาจเป็นเช่นนั้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาผู้ทำโฆษณาซึ่งที่ได้ร่ำเรียนมาทางด้าน"การสื่อสาร"(communication) หรือผู้ที่ร่ำเรียนมาทางด้าน"สื่อ" [media studies]) แต่คนพวกนี้ไม่ได้ต้องการที่จะรู้ถึงทฤษฎีเกี่ยวกับสัญศาสตร์ เพื่อที่จะออกแบบงานโฆษณาต่างๆ. อันที่จริง สัญศาสตร์เป็นเครื่องมืออันหนี่งของการวิเคราะห์ ไม่ได้เกี่ยวกับการสร้างสื่อ
สิ่งที่จะตามมาในบทนี้คือ "การวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์"เกี่ยวกับภาพที่แตกต่างกันจำนวนหนึ่ง. การวิเคราะห์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมาและสนทนากันไปแล้วในบทก่อน(ขอให้ดูบทความเกี่ยวกับเรื่องสัญศาสตร์") ในเรื่องเกี่ยวกับ ภาพต่างๆมันได้ผลิตความหมายขึ้นมาได้อย่างไร และเราเข้าใจพวกมันได้อย่างไร
การวิเคราะห์แต่ละอย่าง ได้ปลุกคำถามมากมายขึ้นมาให้เราพยายามแสวงหาคำตอบ และตามมาด้วยข้อคิดเห็นหรือคำวิจารณ์ในรายละเอียดต่างๆที่มีต่อภาพที่เรากำลังพูดถึง. ข้อคิดเห็นที่หลายหลากเหล่านี้ได้ดึงความสนใจไปสู่ประเด็นที่มีความสำคัญต่างๆในการวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ขอให้ดูภาพประกอบที่ 1.)
ภาพประกอบที่ 1. เด็กร้องไห้ (นำมาจาก: Werner Bischof)
หลังจากที่ดูภาพนี้แล้วให้เราลองกระทำดังต่อไปนี้
หลังจากที่ดูภาพนี้แล้วให้เราลองกระทำดังต่อไปนี้
1. เขียนลงไปโดยเร็วเกี่ยวกับสิ่งที่คุณคิด ในเรื่องเชื้อชาติของเด็กคนนี้
2. เขียนลงไปโดยพลันเกี่ยวกับว่า ทำไมเด็กคนนี้จึงร้องไห้
(ข้อแนะนำคือ อย่าใช้เวลาเกินกว่า 30 วินาที ต่อคำถามทั้ง 2 ข้อข้างต้น ให้เขียนสิ่งที่คุณรู้สึกโต้ตอบต่อภาพนี้โดยตรงทันที)
แบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องต่อคำถาม 2 ข้อข้างต้น. ภาพประกอบที่ 1. ได้ดึงความสนใจของเราทันทีไปสู่ธรรมชาติของภาพที่มีความเป็นไปได้หลายหลากในเรื่องของความหมาย. ในที่นี้ใช้คำว่า "polysemic" ซึ่งมาจากคำในภาษากรีกคือ poly (หมายถึง many) และคำว่า seme (ซึ่งหมายถึง meaning). ดังนั้นคำว่า Polysemic จึงแปลว่า many meaning (ความหมายหลากหลาย)
ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องต่อคำถาม 2 ข้อข้างต้น. ภาพประกอบที่ 1. ได้ดึงความสนใจของเราทันทีไปสู่ธรรมชาติของภาพที่มีความเป็นไปได้หลายหลากในเรื่องของความหมาย. ในที่นี้ใช้คำว่า "polysemic" ซึ่งมาจากคำในภาษากรีกคือ poly (หมายถึง many) และคำว่า seme (ซึ่งหมายถึง meaning). ดังนั้นคำว่า Polysemic จึงแปลว่า many meaning (ความหมายหลากหลาย)
มันมีความเป็นไปได้ สำหรับภาพๆหนึ่งที่จะมีลักษณะ"หลากหลายความหมาย" หรือ polysemic: ด้วยเหตุดังนั้น ภาพเด็กคนนี้ อาจจะเป็นเด็กชาวอินเดียน, ออสเตรเลียน, อิตาเลียน, อังกฤษ, อเมริกาใต้, หรือเชื้อชาติอื่นๆได้อีกมาก. และเด็กซึ่งกำลังร้องไห้อยู่นี้ ก็มาจากสาเหตุต่างๆได้มากมายเช่นกัน เช่น เพราะเขาหรือเธอหกล้ม, หรือทำไอศครีมตก, หรือหลงจากพ่อแม่, หรือทำตุ๊กตาหาย หรือเพราะว่าเธอหรือเขากำลังหิว และอื่นๆ
แต่อย่างไรก็ตาม ความสามารถของภาพต่างๆในการนำพาความหมายที่เป็นไปได้จำนวนหนึ่งติดมากับพวกมันด้วยนั้น มิได้หมายความว่าภาพต่างๆสามารถที่จะหมายถึงอะไรก็ได้. ภาพและข้อมูลต่างๆที่ประกอบกันจะเปิดไปสู่การตีความที่เป็นไปได้ต่างๆอย่างไม่มีขีดจำกัด แต่ในเวลาเดียวกัน พวกมันก็มีขีดจำกัดในการตีความที่เป็นไปได้จำนวนหนึ่งด้วยเช่นกัน
ภาพที่เราเห็นในโฆษณาชิ้นนี้ แน่นอน เป็นภาพของเด็กคนหนึ่ง ไม่ใช่ผู้ใหญ่ และชัดเจนว่าเด็กคนนี้ไม่มีความสุขเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง. สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ถูกบ่งชี้ไปในหนทางนั้น. ด้วยเหตุนี้ มันจึงมีข้อจำกัดต่างๆในความหมายอันหลากหลายด้วย
แม้ว่าภาพแต่ละภาพจะมีศักยภาพในแง่ของความหมายที่หลากหลายก็ตาม แต่ผู้คนจำนวนมากก็ได้ให้คำตอบต่อคำถามสองข้อข้างต้นในทำนองเดียวกัน. ส่วนใหญ่พวกเขาจะตอบว่าเด็กคนนี้มาจากครอบครัวที่ยากจน จากโลกของคนส่วนใหญ่(ประเทศโลกที่สาม) และที่เขากำลังร้องไห้ เนื่องมาจากการสูญเสียหรือการทำลายล้างที่สำคัญบางอย่าง เช่น สงคราม, แผ่นดินไหว, ทุพภิกขภัย หรือการสูญเสียพ่อแม่ของตนไป. อะไรคือระหัสในเชิงสัญศาสตร์และความเคยชินที่น้อมนำไปสู่การอ่านภาพออกมาเช่นนั้น? ความรู้ทางวัฒนธรรมใดเล่า ซึ่งเป็นที่ต้องการในการอ่านภาพดังกล่าวออกมาแบบนี้?
1. เราอ่านภาพนี้ในความสัมพันธ์กับภาพอื่นๆซึ่งเราคุ้นเคย มันอาศัยหรือใช้ความเคยชินของภาพโปสเตอร์และภาพโฆษณาต่างๆสำหรับการบริจาคหรือการสงเคราะห์ ซึ่งเรียกร้องการช่วยเหลือในความสัมพันธ์กับภัยพิบัติต่างๆในโลกส่วนใหญ่ อย่างเช่น ทุพภิกขภัยและแผ่นดินไหว เป็นต้น. ภาพต่างๆเหล่านี้เป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้รับสื่อในตะวันตก ซึ่งได้มองเห็นภาพของสิ่งเหล่านี้บนป้ายโฆษณา ในหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร และบนจอโทรทัศน์. ด้วยเหตุนี้ การอ่านภาพของพวกเราจึงขึ้นอยู่กับความรู้ทางวัฒนธรรม และมันได้รับการสร้างขึ้นมาอย่างสัมพันธ์กับข้อมูลต่างๆ (ในการร่วมกันกับความหมายต่างๆที่สร้างขึ้นโดยข้อมูลทั้งหลายที่โยงใยกัน). ภาพเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานะตำแหน่งของเราในฐานะผู้รับสาร(message)คนหนึ่ง และขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยของเรากับระหัสอันนั้นในเชิงขนบจารีตของภาพสื่อ
2. เราอ่านภาพนี้โดยผ่านเครื่องหมายต่างๆของมันและการบ่งชี้อื่นๆ(signifiers). มันมีรายละเอียดอยู่ด้วยกัน 3 ประเด็นที่พึงระลึกถึงในความสัมพันธ์กับเรื่องนี้
2.1 The sign / signifier of the child (เครื่องหมาย / ตัวบ่งชี้ที่เป็นภาพของเด็ก). เด็กในภาพนี้มีความหมายแฝง, ท่ามกลางคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะอื่นๆ, เช่น ความไร้เดียงสา, ความเจ็บปวด, การต้องการความดูแลเอาใจใส่, การไร้อำนาจ, และความรัก. เด็กเป็นตัวบ่งชี้อันหนึ่งซึ่งถูกนำมาใช้ทั่วๆไปในความสัมพันธ์กับหายนะภัยต่างๆ อย่างเช่น ภาวะข้าวยากหมากแพง, ดังที่พวกเขาได้ใช้ภาพที่เร้าอารมณ์ของเหยื่อที่ไร้เดียงสาต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้ผู้ใหญ่มาร่วมกันดูแลและสงเคราะห์ช่วยเหลือ
2.2 The sign / signifier of tears (เครื่องหมาย / ตัวบ่งชี้ซึ่งเป็นภาพของน้ำตา). ภาพน้ำตา แน่นอน บ่งชี้ถึงความเจ็บปวด การไม่มีความสุข และความสับสนวุ่นวาย แต่ภาพน้ำตายังมีนัยสำคัญในกรณีของภาพถ่ายด้วย. เราอาจถามว่า ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของครอบครัว ในลักษณะที่เป็นการบันทึกภาพแบบฉับพลัน(snapshot)ใช่หรือไม่. อันนี้เป็นไปได้ แต่ไม่เหมือนกัน: ภาพๆนี้ไม่ได้คล้อยตามกับความคุ้นเคยเกี่ยวกับภาพถ่ายแบบฉับพลันทันทีที่ธรรมดา. ภาพถ่ายครอบครัวที่ถ่ายแบบฉับพลัน(snapshot)นั้น ปกติแล้วจะถูกถ่ายเพื่อบันทึกเรื่องราวของความสุข, ความน่ายินดี, ช่วงที่แสดงอะไรออกมาในลักษณะที่ขบขันของชีวิตครอบครัว. โดยเหตุนี้ ภาพเด็กในช่วงขณะเหล่านี้ ปกติแล้วจะแสดงออกมาเป็นภาพที่กำลังเล่นหรือกำลังยิ้มแย้มแจ่มใส. อันที่จริง ถ้าหากว่าเด็กคนหนึ่งกำลังร้องไห้, ตามธรรมดาแล้ว สมาชิกในครอบครัวจะเข้ามาให้การช่วยเหลือเด็กๆมากกว่าจะถ่ายภาพเก็บเอาไว้. ดังนั้น ตามความเข้าใจของเราเกี่ยวกับระหัสหรือเครื่องหมายต่างๆเกี่ยวกับการบันทึกภาพแบบฉับพลันของครอบครัวที่เสนอนั้น, เนื่องจากเครื่องหมายของน้ำตา, อันนี้จึงเป็นภาพถ่ายที่แตกต่างออกไปอีกประเภทหนึ่ง
2.3 The use of the photographic code of black and white (การใช้ภาพถ่ายประเภทขาวดำ) อันนี้สามารถบ่งชี้ถึงความเป็นจริง หรือมันสามารถบ่งชี้ถึงยุคก่อนที่จะมีภาพสีเกิดขึ้น. เราสัมพันธ์กับภาพขาวดำในฐานะที่เป็นหลักฐานหรือข้อเท็จจริง เพราะหนังสือพิมพ์มีการบรรจุภาพขาวดำลงบนหน้ากระดาษเป็นธรรมเนียมปฏิบัติปกติ และเพราะว่าพวกมันถูกนำมาใช้ในงานสารคดีต่างๆอยู่เสมอ (เพื่อแสดงให้เห็นถึงหลักฐานเกี่ยวกับยุคอดีต). แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่กระบวนการผลิตภาพสี ปัจจุบันได้กลายมาเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากว่ามันมีราคาไม่ค่อยแพงนัก และแพร่หลายในหน้าหนังสือพิมพ์ ภาพถ่ายขาวดำจึงถูกเข้าใจอยู่บ่อยๆในฐานะภาพถ่ายทางศิลปะที่จริงจัง หรือเป็นทางเลือกสำหรับงบประมาณในการผลิตที่มีอยู่น้อย เมื่อมันปรากฎอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์, นิตยสาร, และสิ่งพิมพ์ต่างๆ
สรุป: ความรู้เกี่ยวกับระหัสของภาพถ่ายและวัฒนธรรมที่หลากหลาย และการแฝงความหมายครอบคลุมในเชิงวัฒนธรรม โดยเหตุผลข้างต้น ได้น้อมนำผู้คนให้ตามได้ไล่ทันการอ่านภาพอันนี้ออกมาในทำนองเดียวกัน. (ภาพถ่ายซึ่งเป็นภาพประกอบที่ 1. อันที่จริงแล้ว คือภาพเด็กชาวยุโรปตะวันออก ซึ่งบันทึกเอาไว้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940s โดย Werner Bischof)
ภาพประกอบที่ 2.
ขอให้เราดูภาพประกอบที่สอง และลองทำสิ่งต่อไปนี้
ขอให้เราดูภาพประกอบที่สอง และลองทำสิ่งต่อไปนี้
1. ให้ลองเขียนถึงปฏิกริยาโต้ตอบของคุณทันทีที่มีต่อภาพซึ่งกำลังเห็นอยู่ ภาพนี้ทำให้คุณรู้สึกอย่างไร?
2. ลองเขียนความคิดของคุณลงไปว่า ภาพที่กำลังจ้องมองอยู่นี้มาจากที่ใด?
แบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
ภาพประกอบที่ 2. เป็นภาพมีศักยภาพที่จะให้ความหมายที่หลายหลาก แต่ตามธรรมดาแล้ว คำตอบที่ได้, ผู้คนรู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกถูกคุกคามหรือรบกวนโดยภาพดังกล่าว. ผู้คนทั้งหลายยังมีแนวโน้มที่จะคิดว่าภาพนี้อาจเป็นภาพใหม่ หรือภาพนิ่งซึ่งมาจากภาพยนตร์สยองขวัญที่มีงบประมาณการสร้างไม่มากนัก หรือเป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์
ภาพประกอบที่ 2. เป็นภาพมีศักยภาพที่จะให้ความหมายที่หลายหลาก แต่ตามธรรมดาแล้ว คำตอบที่ได้, ผู้คนรู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกถูกคุกคามหรือรบกวนโดยภาพดังกล่าว. ผู้คนทั้งหลายยังมีแนวโน้มที่จะคิดว่าภาพนี้อาจเป็นภาพใหม่ หรือภาพนิ่งซึ่งมาจากภาพยนตร์สยองขวัญที่มีงบประมาณการสร้างไม่มากนัก หรือเป็นภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์
การวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์(semiological analysis) สามารถอธิบายคำตอบเหล่านี้ได้. การแฝงความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาของภาพกำลังถูกรบกวน. เราจดจำได้ถึงเครื่องแต่งกายซึ่งได้แสดงถึงเรื่องเกี่ยวกับศัลยแพทย์ / หมอ
ในฐานะเครื่องหมายอันหนึ่ง โรงพยาบาลหรือห้องผ่าตัดเป็นสถานที่หนึ่งซึ่งมีความหมายแฝงถึงความป่วยไข้ และอันตราย - ซึ่งจะเป็นผลที่ตามมา มันคือสถานที่ของความกังวลใจ ความห่วงใย. ยิ่งไปกว่านั้น แสงไฟยังไม่น่าดูด้วย และมันได้แสดงให้เห็นถึงส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลในเงามืด; มันไม่ใช่สถานที่ของแสงไฟ
อันนี้ได้แสดงออกมาในหนทางที่ "ความมืด"ได้ไปมีความสัมพันธ์กับเรื่องของความกลัว สิ่งที่ไม่รู้ และการมีความหมายแฝงในเชิงลบอื่นๆ. สิ่งบ่งชี้ต่างๆ อย่างเช่น หน้ากากปิดปากปิดจมูกอันนั้นของหมอ และถุงมือยาง ได้นำพาความหมายต่างๆมาด้วยอีกจำนวนหนึ่ง. บางส่วนของสิ่งบ่งชี้เหล่านี้อาจกำลังรบกวน เช่น หน้ากากปิดปากปิดจมูก, เช่นเดียวกับมันไม่ระบุถึงหมอคนนี้ว่าเป็นใคร, ถูกปิดบัง, และไม่เป็นส่วนตัว (และโดยเหตุนี้จึงให้ความรู้สึกคุกคามมากขึ้น) มันให้ความหมายในเชิงที่เกี่ยวกับอันตรายและการสงคราม หน้ากากปิดปากปิดจมูกบ่งนัยถึงภาวะสงคราม โดยผ่านหน้ากากที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับหน้ากากกันแก๊สพิษและเกราะป้องกัน
หมายเหตุ : ความคล้ายคลึงกับหน้ากากดังกล่าวได้รับการสวมใส่โดย Darth Vader ในภาพยนตร์เรื่อง Star War, ซึ่งได้อาศัยสิ่งเดียวกันนี้เหมือนกันเพื่อแฝงความหมายในเชิงที่รบกวนและบ่งถึงว่าสภาพแวดล้อมนั้นไม่ปลอดภัย และผู้สวมใส่ต้องการที่จะปิดบังซ่อนเร้น หรือได้รับการปกป้อง. ถุงมือพลาสติก แฝงนัยถึงความต้องการที่จะป้องกันอันตรายจากเชื้อจุลลินทรีย์หรือเชื้อโรคต่างๆ และพวกเขายังทำให้หมอคนดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นส่วนตัวเพิ่มขึ้นด้วย. บรรดาหมอทั้งหลายสวมใส่ถุงมือ เมื่อพวกเขาต้องเกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างกับร่างกายของคนไข้ ดังนั้นในเวลาเดียวกัน ถุงมือยังบ่งชี้ถึงการคุกคามหรือรุกล้ำต่อร่างกายด้วย
เครื่องหมายหรือสิ่งบ่งชี้ต่างๆเหล่านี้ สามารถถูกคิดไปถึงความหมายเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นคุณได้ด้วย - ว่ากันที่จริง โรงพยาบาลคือสถานที่หนึ่งที่ช่วยเหลือทางด้านสุขภาพและการป้องกันรักษาอย่างมีศักยภาพ. แต่ในความสัมพันธ์กับภาพนี้ที่ปรากฏตรงหน้า เรามีแนวโน้มไปในทางความรู้สึกถึงความหมายเกี่ยวกับความไม่มั่นคงต่างๆมากกว่า เนื่องมาจากระหัสต่างๆของภาพถ่าย เช่น วิธีการที่ภาพๆนี้ได้ถูกถ่าย
เงื่อนไขต่างๆซึ่งสำคัญที่สุดในที่นี้คือ มุมกล้องและเลนส์ของกล้องถ่ายรูป. มุมกล้องดังกล่าวได้กระทำหน้าที่ของมันสองสิ่ง; นั่นคือ มันได้วางเราในฐานะผู้ดูลงในตำแหน่งที่เป็นรอง เพราะเรากำลังจ้องมองไปที่หมอคนนี้ ซึ่งมีอำนาจเหนือเรา และด้วยเหตุนี้จึงสามารถที่จะคุกคามเราได้ และมันได้วางเราลงในตำแหน่งมุมมองของคนไข้ และโดยเหตุนี้ เราจึงถูกเชื้อเชิญให้ไปสวมบทบาทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับคนไข้
หมอคนดังกล่าวกำลังมองดูตรงๆลงมาที่เรา - มือของเขากำลังกระทำบางสิ่งบางอย่างกับเรา. เลนส์ของกล้องเป็นเลนส์มุมกว้าง. มันจึงมีผลต่อการบิดเบือนภาพที่ปรากฏต่อสายตาเรา กล่าวคือ มือนั้นได้ถูกทำให้ใหญ่ขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมชาติในความสัมพันธ์กับส่วนที่เหลือของร่างกาย. ขนาดอันนี้ของภาพบ่งชี้ และเน้นถึงการคุกคามของมันที่มีต่อผู้ดู
ภาพดังกล่าวยังมีลักษณะความหมายแฝงในเชิงรบกวนมากยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก โดยผ่านขนบจารีตทางด้านภาพยนตร์. กล่าวคือ มันมีความคล้ายคลึงกับภาพต่างๆที่เราเคยเห็นในภาพถ่ายประเภทขาวดำที่น่ากลัว และภาพยนตร์ซึ่งเกี่ยวกับนวนิยายวิทยาศาสตร์. ภาพคน หรือเครื่องหมายที่เคยชินซึ่งเกิดขึ้นบ่อยๆในลักษณะเหล่านี้ มักเป็นภาพของนักวิทยาศาสตร์หรือหมอที่สติเฟื่อง(บ้าๆบอๆ)
ภาพคนในลักษณะเช่นนี้ เราสามารถพบเห็นได้ในภาพยนตร์ และวรรณกรรมยอดนิยมมานับตั้งแต่วันเวลาของเรื่อง Frankenstein ซึ่งเขียนโดย Mary Shelley และยุคหลังต่อมาอย่างเช่นเรื่อง Event Horizon และ Dead Ringers. ระหัสต่างๆของภาพถ่ายในลักษณะดังกล่าว ส่งเสริมความรู้สึกสยองขวัญ และบรรดาภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ได้ใช้ขนบจารีตในทำนองเดียวกันนี้เกี่ยวกับแสงเงาซึ่งดูเคร่งขรึม, มุมกล้องที่บิดเบือนเพื่อสร้างความรู้สึกในเชิงที่รบกวน และสร้างความไม่สบายใจขึ้นมา
อีกคำรบหนึ่ง ความหมายของภาพสามารถถูกทำความเข้าใจได้ในความสัมพันธ์กับเครื่องหมาย, นัยะแฝง, ความคุ้นชิน, ขนบจารีตที่มาประกอบเสริมของมัน และรวมถึงความรู้ทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ด้วย. มันเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่ว่า อันที่จริง ภาพถ่ายดังกล่าวคือภาพของ Dr. Christian Barnard ซึ่งเป็นผู้ที่ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ(heart-transplant)เป็นคนแรกของโลก, และคำบรรยายภาพดั้งเดิมเขียนเอาไว้ว่า"Hands that save"(มือที่มาช่วยชีวิต). อันนี้ได้ดึงความสนใจของเราไปสู่การที่คำอธิบายใต้ภาพและบริบทต่างๆของมัน ซึ่งสามารถที่จะให้ความหมายเป็นการเฉพาะต่อภาพๆนี้ได้ แต่มันยังดึงเราไปสู่หนทางที่ ภาพถ่ายภาพหนึ่งสามารถที่จะถ่ายทอดท่าทีหรือทัศนคติอันหนึ่งซึ่งมีต่อเนื้อหาเรื่องราวของมันได้ด้วย
ในกรณีนี้ ในทางที่ตรงข้ามกับคำอธิบายใต้ภาพดังกล่าวเกี่ยวกับความหวัง ภาพถ่ายดูเหมือนว่าจะสะท้อนถึงความไม่สบายใจของคนบางคน เกี่ยวกับการเปลี่ยนหัวใจในช่วงเวลานั้น(1969). การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นเรื่องซึ่งใหม่มากและยังไม่ปลอดภัยเท่าใดนัก และมีคนบางคนได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องของศีลธรรมในการกระทำดังกล่าว. ด้วยเหตุที่เราสามารถเห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างภาพๆนี้ กับ ภาพคนในนวนิยายเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง ซึ่งถูกเข้าใจว่าบ้าๆบอๆเพราะเขาหรือเธอได้ช่วงชิงอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าและธรรมชาติมานั่นเอง
คำอธิบายภาพได้ทำงานในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของสิ่งที่ Barthes เรียกว่า "anchorage"[การทอดสมอ - การยึดเหนี่ยว] (Barthes 1977; O'Sullivan et al.1994, p.13): มันเป็นการทอดสมอความหมายให้กับเรา ลดทอนความหมายอันหลากหลายที่เป็นไปได้ต่างๆลง และแสดงให้เราเห็นว่า เราจะมองภาพนี้กันอย่างไร
ภาพประกอบที่ 3.
1. ลองมองภาพนี้สัก 30 วินาที จากนั้นให้คุณลองเขียนลงไปถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งคุณสามารถจดจำได้เมื่อมองไปที่ภาพดังกล่าว
2. ให้พิจารณาดูว่า ภาพใบหน้าซึ่งคุณกำลังจ้องมองอยู่นี้เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ให้เขียนลงไปถึงสิ่งซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ในภาพที่มาให้การสนับสนุนคำตอบของคุณว่า ทำไม
แบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
ในการตอบคำถามแรก จะดึงความสนใจของคุณไปสู่วิธีการที่ภาพได้ถูกสร้างขึ้นด้วยปัจจัยสำคัญต่างๆจำนวนหนึ่ง. ปัจจัยสำคัญเหล่านี้แต่ละอย่าง, หรือ เครื่องหมาย / ตัวบ่งชี้, ได้นำพาความหมายแฝงที่หลากหลาย ซึ่งได้ช่วยสนับสนุนความหมายที่เราสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับภาพนี้
ในการตอบคำถามแรก จะดึงความสนใจของคุณไปสู่วิธีการที่ภาพได้ถูกสร้างขึ้นด้วยปัจจัยสำคัญต่างๆจำนวนหนึ่ง. ปัจจัยสำคัญเหล่านี้แต่ละอย่าง, หรือ เครื่องหมาย / ตัวบ่งชี้, ได้นำพาความหมายแฝงที่หลากหลาย ซึ่งได้ช่วยสนับสนุนความหมายที่เราสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับภาพนี้
ในการอธิบายภาพประกอบที่ 3. คุณอาจจะเขียนถึง"ใบหน้าและผนังกำแพง" แต่ใบหน้าในตัวของมันเองนั้น ตามที่ปรากฏ ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากปัจจัยต่างๆมากมาย - ผมดำ, หูข้างหนึ่งซึ่งค้องตุ้มหู, ปากที่ปิดสนิท, รูปทรงของผม, ตาที่จ้องมอง, และอื่นๆ
การรับรู้เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญต่างๆเหล่านี้ ยินยอมให้เราเริ่มต้นตอบคำถามที่สองได้: ภาพใบหน้านี้เป็นภาพของผู้หญิงหรือผู้ชาย? มันไม่ใช่คำตอบง่ายๆสำหรับคำถามนี้; ภาพดังกล่าวค่อนข้างคลุมเครืออย่างน่าตรึกตรอง. บันทึกสิ่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่างๆที่ชี้บ่งลักษณะของเพศสภาพเอาไว้ อันนี้คือปฏิบัติการที่ลึกลงไปในรายละเอียดเชิงวิเคราะห์
การใช้ระบบของความต่าง สามารถทำให้เรากล่าวได้ว่า ตุ้มหูที่ปรากฏในภาพถ่ายนี้บ่งชี้ถึงเพศสภาพที่เจาะจงลงไปได้ ใช่ไหม? ตุ้มหูต่างๆ ตามขนบจารีตแล้ว ส่วนมากจะได้รับการสวมใส่โดยผู้หญิง ด้วยเหตุนี้ ตุ้มหูจึงเป็นตัวบ่งชี้อันหนึ่งของความเป็นผู้หญิง (ซึ่งในตัวอย่างนี้ มันคือตัวบอก). แต่ ปัจจุบันในหลายๆประเทศ มันเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ชายที่จะสวมใส่ตุ้มหูกัน ดังนั้น การเจาะหูจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตัวบ่งถึงความเป็นหญิงอีกต่อไป
ผู้ชายมีแนวโน้มที่จะใส่ตุ้มหูเพียงแค่ข้างเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ถ้าเราสามารถเห็นตุ้มหูทั้งสองข้าง เราก็จะมีร่องรอยมากขึ้นเกี่ยวกับเพศสภาพ. ตุ้มหูของผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่และประณีตกว่าของพวกผู้ชาย แต่ก็อีกนั่นแหละ ผู้หญิงจะสวมใส่ตุ้มหูซึ่งมีขนาดเล็กกว่าด้วย
ลักษณะของสองแง่สองนัยที่กล่าวถึงข้างต้น ทำให้ตุ้มหูเป็นเครื่องหมายที่ออกจะคลุมเครือเกี่ยวกับเพศสภาพ. เราสามารถที่จะมองมันในฐานะที่เป็นการบ่งชี้ถึงชายหรือหญิงก็ได้. ถ้าเราสามารถระบุวันเวลาเกี่ยวกับภาพถ่ายนี้ได้ มันอาจจะให้ร่องรอยอะไรบางอย่างแก่เราได้มากขึ้น และเราสามารถที่จะกำหนดได้ว่า ตุ้มหูเป็นสิ่งบ่งชี้ ณ เวลานั้นซึ่งภาพๆนี้ได้ถูกบันทึกเอาไว้
แล้วปากในภาพถ่ายนี้สามารถบอกอะไรหรือบ่งชี้ถึงอะไรได้บ้าง? ปากปิดสนิท แต่ริมฝีปากเต็ม ซึ่งดูราวกับว่ามันได้รับการเสริมแต่งขึ้นมา. เครื่องหมายอันนี้สามารถที่จะชี้บ่งถึงอะไรได้บ้างไหมเกี่ยวกับเพศสภาพ?
ผู้หญิงในภาพถ่ายที่บันทึกรูปหน้าเต็ม โดยจารีตแล้วจะเปิดยิ้ม. อันนี้เกี่ยวพันถึงขนบจารีตของภาพถ่าย และขนบจารีตของพฤติกรรมจริงๆ. ในฐานะส่วนหนึ่งของการอบรมเลี้ยงดูมาตั้งแต่วัยเยาว์ทางเพศสภาพของบรรดาผู้หญิง, ผู้หญิงได้รับการสนับสนุนให้ยิ้มให้กับผู้คนทั้งหลายมากกว่าผู้ชาย. อันนี้ได้รับการนำไปสัมพันธ์กับ วิธีการที่ผู้หญิงได้รับการกระตุ้นส่งเสริมให้แสดงตัวของพวกเธอ ในฐานะผู้ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูและในฐานะคนที่ทำให้คนอื่นรู้สึกดีๆ
โดยลำดับ บางส่วนอันนี้ได้อธิบายข้อเท็จจริงที่ว่า ภาพตัวแทนต่างๆในภาพถ่ายเกี่ยวกับผู้หญิง ได้ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นภาพทางสายตาที่ให้ความพึงพอใจ. มันอาจจะไปเชื่อมโยงกันกับวิธีการที่ผู้หญิงได้ถูกกระตุ้นส่งเสริมในทางสังคมให้แสดงความรู้สึกต่างๆของพวกเธอออกมามากกว่าผู้ชายด้วย
โดยการปิดปากสนิท ผู้ชายได้เก็บความรู้สึกของพวกเขาเอาไว้กับตัวเอง และอันนี้อาจจะเหมาะสมกันอย่างดีกับภาพเพศสภาพของผู้ชาย ในฐานะการมีพลังอำนาจมากกว่า: เราไม่รู้ว่าพวกเขากำลังรู้สึกอะไร และโดยเหตุนี้ เราจึงไม่สามารถคาดเดาพฤติกรรมของพวกเขาได้
ผู้หญิงจำนวนมากมีการแต่งหน้าทาปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการใช้ลิปสติกค์ทั้งสีแดงและชมพูอย่างหลากหลาย แต่เด็กหนุ่มบางคนในปัจจุบันก็แต่งหน้าทาปากด้วยเช่นกัน บ่อยครั้งจะเป็นลิปสติกค์สีดำหรือน้ำเงิน. การทาริมฝีปาก โดยจารีตแล้ว เป็นเครื่องหมายที่บ่งถึงการดึงดูดทางเพศ ดังนั้น ภาพถ่ายต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิงซึ่งมีการแต่งหน้าทาปากจึงเป็นเครื่องหมายของตัวเองในฐานะที่เกี่ยวกับความงามและเรื่องเพศ
ข้อคิดเห็นเหล่านี้ชี้ถึงระหัสที่คลุมเครือเกี่ยวกับปากในฐานะเครื่องหมาย. เราสามารถอ่านมันในฐานะที่เป็นสิ่งบ่งชี้ของความเป็นผู้หญิง(ทาปาก, การปรุงแต่ง) หรือความเป็นผู้ชาย(ไม่เผยยิ้ม, ปากที่ปิด, คนที่ช่ำชองบนถนน [street-wise men หมายถึง คนที่มีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการเกี่ยวข้องกับชีวิตในเมืองสมัยใหม่] ซึ่งแต่งแต้มริมฝีปากด้วยสีดำ)
เราอาจจะมองแบบวิเคราะห์มากยิ่งขึ้นถึงการแสดงออกบนใบหน้าทั้งหมด และบันทึกถึงร่องระหว่างคิ้ว และสายตาที่จ้องมองตรงๆมายังกล้องถ่ายรูป. คิ้ว, ดวงตา, และปาก ทั้งหมดที่มารวมกันเพื่อบ่งชี้ถึงการท้าทายต่อผู้ดู
ตามขนบประเพณีแล้ว การมองในลักษณะท้าทายอันนี้ถูกทำให้สัมพันธ์กับการมองของผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงได้รับการคาดหวังที่จะดูเชื้อเชิญและไม่มีลักษณะของการคุกคาม. เราไม่ได้กล่าวว่านี่คือสิ่งที่ผู้หญิงและผู้ชายควรประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นจริงๆ และมิได้พูดว่า มันเป็นจริงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่ว่า นี่คือสิ่งซึ่งพวกเขาต้องประพฤติปฏิบัติ มากยิ่งไปกว่านั้น เรากำลังชี้ไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่า โดยจารีตหรือธรรมเนียมในการเป็นตัวแทนภาพถ่าย อันนี้คือรูปของผู้ชายและผู้หญิงในความนึกคิดที่ถูกทำเป็นเครื่องหมายของการปฏิบัติตัว
นับจากทศวรรษที่ 1990s เป็นต้นมา ภาพโฆษณาจำนวนมากและเพิ่มขึ้น ได้แสดงภาพของผู้หญิงในลักษณะที่ก้าวร้าว เป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจของพวกเธอ. แต่อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้ง ภาพเหล่านี้เป็นเพียงการนำเสนอภาพในลักษณะแฟนตาซีหรือเพ้อฝัน หรือที่เรียกว่า sado-masochistic fantasies (ลักษณะผสมกันของ sadism และ masochism): กล่าวคือ ผู้หญิงถูกใส่ระหัสหรือเครื่องหมาย ในฐานะที่เป็นเรื่องทางเพศและเรื่องความก้าวร้าวในเวลาเดียวกัน. และระหัสหรือเครื่องหมายลักษณะผสมของ sado-masochistic นี้หมายถึงนัยะแฝงทางเพศสภาพ อันเกี่ยวเนื่องกับคุณสมบัติที่แตกต่างอันหนึ่ง
เราอาจวิเคราะห์ถึงสิ่งซึ่งคล้ายๆกันเกี่ยวกับความคลุมเครือของเรื่องผม(hair) รวมถึงเรื่องของทรงผม มองดูเครื่องหมายต่างๆอันนี้ของทั้งผู้หญิงและผู้ชาย. แต่มันมีเงื่อนไขที่สำคัญ 3 ประการในการพิจารณา เมื่อการอ่านภาพว่าภาพอันนี้ได้บ่งถึงเพศสภาพอย่างไร
1. กำเนิดของเชื้อสายเผ่าพันธุ์ของบุคคลที่แสดงออกให้เห็น. ถ้าหากว่าเรากำลังอ่านภาพของบุคคลคนนี้ว่าเป็นคนเอเชีย ความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรมและระหัสหรือเครื่องหมายต่างๆจำนวนหนึ่ง จะมาช่วยทำให้ความคลุมเครือของเพศสภาพสำหรับภาพนี้มีการแสดงออกมากขึ้น
เราใคร่จะแสดงให้เห็นว่า สำหรับคนผิวขาว และโดยสายตาของชาวยุโรป ผู้ชายชาวเอเชียบางคนปรากฏรูปออกมาในลักษณะที่คล้ายคลึงกับผู้หญิง บางส่วนเป็นเพราะว่า พวกเขามีขนบนใบหน้าและขนตามร่างกายน้อยกว่าผู้ชายผิวขาว และโดยผ่านการที่โครงสร้างของกล้ามเนื้อและกระดูกของพวกเขาที่ไม่ชัดเจนนักเป็นตัวบ่งด้วย
นอกจากนี้ มันยังมีการถอดระหัสหรือการแปลเครื่องหมายทั่วๆไปอันหนึ่งเกี่ยวกับคนเอเชียโดยชาวตะวันตก ในฐานะที่มีลักษณะของความเป็นหญิงด้วย. ดังนั้น การอ่านเหล่านี้ต่อภาพถ่ายข้างต้นในฐานะที่เป็นภาพของคนเอเชีย อาจมีความโน้มเอียงในเชิงประติทรรศน์(ขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป) ที่จะมองสิ่งบ่งชี้ต่างๆของความเป็นผู้หญิง ในฐานะเครื่องหมายชี้บ่งบอกว่า ภาพใบหน้าดังกล่าวคือภาพใบหน้าของผู้ชาย
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่อ่านภาพนี้ว่าเป็นคนเอเชีย อาจมองในเชิงสรุปไปในทิศทางตรงข้ามก็ได้ โดยการใช้ข้อสมมุติฐานทางวัฒนธรรมและการถอดระหัสชุดหนึ่งที่ต่างไป
ผู้หญิงซึ่งไม่ใช่คนผิวขาว บ่อยทีเดียว จะไม่ลงรอยสอดคล้องไปตามความนึกคิดเกี่ยวกับความเป็นหญิงแบบวัฒนธรรมของคนขาว ซึ่งมีลักษณะผมสีบลอนด์, มีความนุ่มนวล, และรูปร่างผอมบาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกคิดว่าเป็นคุณลักษณะของผู้หญิง. ผลที่ตามมา สำหรับการอ่านต่างๆเหล่านั้นที่ว่าภาพถ่ายนี้เป็นคนเอเชีย คนที่เห็นอาจอ่านภาพนี้ว่าเป็นภาพของผู้หญิงก็ได้ ทั้งๆที่ หรืออันที่จริงแล้ว มันมีสิ่งบ่งชี้ต่างๆของความเป็นชายที่ภาพถ่ายนี้บรรจุอยู่
อันนี้อาจดูเหมือนว่าจะสับสนโดยเจตนา แต่จุดประสงค์ต้องการที่จะดึงความสนใจไปสู่ความกำกวมคลุมเครือของเครื่องหมายต่างๆ และความต้องการที่จะเข้าใจว่า เราอ่านระหัสต่างๆอันนั้นเกี่ยวกับตัวแทนภาพทางสายตากันอย่างไร และอ่านมันผ่านขนบจารีตทางวัฒนธรรมกันอย่างไร
แบบฝึกหัดเหล่านี้ ยังมีจุดประสงค์ที่จะสาธิตหรือแสดงให้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาว่า ใครคือผู้ดูด้วย. การอ่านเหล่านี้เกี่ยวกับเพศสภาพและเชื้อชาติ จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งเผ่าพันธุ์ของผู้อ่าน(the ethnic position of the readers). กลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างจะอ่านต่างกัน. เราได้โฟกัสส่วนใหญ่ลงไปที่การอ่านของชาวตะวันตก
2. ฉากหรือสิ่งแวดล้อม. อันนี้เป็นฉากกลางแจ้งบนท้องถนน ถึงแม้ว่าเราจะมองไม่ค่อยชัดว่าเป็นภาพบนท้องถนนก็ตาม แต่สิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยอิฐที่หยาบๆ มันแสดงถึงเครื่องหมาย / สิ่งบ่งชี้อันหนึ่ง ที่แฝงนัยะเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในเมืองย่านคนจนแห่งหนึ่ง
โดยธรรมเนียมแล้ว ฉากหรือสภาพแวดล้อมนี้บ่งชี้ถึงความเป็นชาย(musculinity) เพราะมันเป็นชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชนชั้นคนงานชายที่ยังหนุ่มแน่น ซึ่งถูกเข้าใจว่าสามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนในเมือง. อีกครั้ง เราไม่ได้กำลังบอกว่าอันนี้คือความจริง. มากยิ่งไปกว่านั้น เรากำลังชี้ให้เห็นว่า สมมุติฐานต่างๆเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของระหัสและความคุ้นชินต่างๆของตัวแทนเกี่ยวกับเพศสภาพ. ผลที่ตามมาในภาพถ่ายนี้ ฉากของถนนกลางแจ้งคือสิ่งบ่งชี้อันหนึ่งของความเป็นผู้ชาย มันกระตุ้นสนับสนุนการอ่านภาพที่ปรากฏนี้ในฐานะที่เป็นผู้ชาย
3. แบบฉบับของภาพถ่าย. ภาพถ่ายอันนี้คือเครื่องหมายของภาพถ่ายแบบฉับพลันของครอบครัว(family snapshot)ใช่ไหม, หรือว่ามันเป็นภาพถ่ายตัวบุคคลในเชิงศิลปะภาพหนึ่ง, ภาพข่าวภาพหนึ่ง, หรือมันเป็นภาพถ่ายแบบไหนกันแน่? ข้อเท็จจริงคือว่า ภาพๆนี้เป็นภาพถ่ายขาวดำ และใช้แสงแบบเคร่งขรึม, แฝงนัยของภาพสัจนิยมหรือความจริงแบบสารคดี แต่การกรอบภาพ, การวางท่า, และการแสดงออกบนใบหน้านำเสนอในลักษณะที่เป็นทางการ(mug shot - คำนี้หมายถึงภาพถ่ายใบหน้าบุคคลที่เป็นทางการ โดยเฉพาะภาพที่ตำรวจบันทึกภาพ - police record), มันเป็นภาพถ่ายเกี่ยวกับการตรวจสอบและควบคุม ซึ่งถูกใช้โดยตำรวจและตัวแทนรักษาความปลอดภัยต่างๆ ดังเช่น การระบุถึงตัวบุคคล. ในกรณีของเพศสภาพ อันนี้บ่งถึงความเป็นชายเพราะ อีกคำรบหนึ่ง ผู้ชายโดยความเคยชินแล้ว มักเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมและการกระทำผิดกฎหมายมากกว่าผู้หญิง
อันนี้ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง ต่อคำถามที่ว่า"ภาพใบหน้าคนที่เรากำลังพิจารณาอยู่ เป็นภาพของผู้หญิงหรือผู้ชาย?" วัตถุซึ่งนำมาวิเคราะห์นี้ ต้องการที่จะทำให้คุณรู้ถึงความหมายที่เป็นไปได้ต่างๆ ซึ่งสามารถถูกผลิตขึ้นมาได้โดยผ่านการวิเคราะห์เครื่องหมาย / ตัวบ่งชี้ต่างๆ, ระหัสของภาพถ่าย และ ความหมายทางวัฒนธรรมของความเข้าใจ. อันนี้จะทำให้คุณมีเครื่องมือเกี่ยวกับทักษะที่จะถอดระหัสสิ่งที่ได้รับการบอกใบ้โดยสิ่งบ่งชี้ต่างๆ และทำให้คุณสามารถที่จะให้เหตุผลในรายละเอียดเพื่อสนับสนุนการค้นพบต่างๆของคุณ. ในการกระทำเช่นนั้น คุณกำลังพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์ในเชิงสัญศาสตร์ของตัวเองขึ้นมา
แต่อย่างไรก็ตาม เราหวังว่าคุณยังคงสงสัยอยู่ว่า ภาพประกอบซึ่งนำมาเป็นตัวอย่างนี้ เป็นภาพใบหน้าของผู้หญิงหรือผู้ชาย. ทำไมคุณต้องการที่จะรู้? มันเป็นเรื่องซึ่งน่าสนใจที่จะครุ่นคิด ไตร่ตรองถึงคำถามดังกล่าวชั่วขณะหนึ่ง. อันนี้ชวนนึกเพราะ เราทราบว่ามันมีคำตอบหนึ่งที่ถูกต้องต่อคำถามอันนี้ เราต้องการจะรู้ว่าเราตอบผิดหรือถูก
แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น เราคิดว่าผู้คนจำนวนมาก ไม่ต้องการเผชิญหน้ากับภาพต่างๆซึ่งมีความคลุมเครือกเกี่ยวกับเพศสภาพ. พวกเขารู้สึกไม่สบายใจเท่าใดนัก กับการที่ไม่สามารถที่จะแบ่งแยกคนๆนี้ได้ว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย. ทำไมอันนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญขึ้นมา และคุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
(สำหรับข้อมูลที่คุณต้องการ ภาพนี้คือภาพถ่ายของผู้หญิงแองโกล-อินเดียนในลอนดอน ในช่วงทศวรรษ 1980s สำหรับใช้ในการวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์ อย่างที่เรากำลังทำกันอยู่)
(สำหรับข้อมูลที่คุณต้องการ ภาพนี้คือภาพถ่ายของผู้หญิงแองโกล-อินเดียนในลอนดอน ในช่วงทศวรรษ 1980s สำหรับใช้ในการวิเคราะห์เชิงสัญศาสตร์ อย่างที่เรากำลังทำกันอยู่)
ภาพประกอบที่ 4.
บนพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ต่างๆ ให้มาลองดูภาพประกอบที่ 4. และลองเขียนลงไปว่า คุณคิดว่าภาพที่กำลังดูอยู่นี้มีเพศอะไร และทำไมถึงเป็นเพศนั้น
การฝึกแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
ภาพแรก (ภาพประกอบที่ 4.)เป็นภาพที่กรอบมาจากภาพใหญ่ภาพหนึ่ง(เฉพาะส่วนอก). มันได้บรรจุปัจจัยหรือองค์ประกอบหลายหลาก - หัวนม, หน้าอก, ผิวขาว, เสื้อสีดำ - แต่มันก็ให้ข้อมูลที่จำกัดแก่เราด้วย. คนบางคนเห็นว่าภาพนี้เป็นภาพของผู้ชายในที่นี้; ส่วนคนอื่นอาจเห็นว่าเป็นผู้หญิง สิ่งบ่งชี้ที่สำคัญหรือเป็นกุญแจคือเต้านม และธรรมชาติที่พัฒนาครึ่งๆกลางๆของเต้านม
ภาพแรก (ภาพประกอบที่ 4.)เป็นภาพที่กรอบมาจากภาพใหญ่ภาพหนึ่ง(เฉพาะส่วนอก). มันได้บรรจุปัจจัยหรือองค์ประกอบหลายหลาก - หัวนม, หน้าอก, ผิวขาว, เสื้อสีดำ - แต่มันก็ให้ข้อมูลที่จำกัดแก่เราด้วย. คนบางคนเห็นว่าภาพนี้เป็นภาพของผู้ชายในที่นี้; ส่วนคนอื่นอาจเห็นว่าเป็นผู้หญิง สิ่งบ่งชี้ที่สำคัญหรือเป็นกุญแจคือเต้านม และธรรมชาติที่พัฒนาครึ่งๆกลางๆของเต้านม
พัฒนาการดังกล่าวสามารถชวนคิดว่าเป็นผู้หญิง ร่วมกับเสื้อผ้าที่ทอดลงมา(เครื่องหมายความเป็นหญิง). แต่เต้านมหรือหน้าอกยังไม่ได้พัฒนาไปมากนัก ดังนั้น มันจึงไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า อันนี้คือผู้ชาย
ภาพประกอบที่ 5. ได้ให้ข้อมูลมากขึ้นแก่เรา, เครื่องหมายและลักษณะบ่งชี้เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างการอ่านในท้ายที่สุดแก่เรา. โดยภาพทั้งหมด(ภาพประกอบที่ 5.) เราอาจแยกแยะได้ง่ายขึ้นว่านี้คือภาพของผู้ชาย โดยการประกอบกันของเครื่องหมายต่างๆจำนวนหนึ่ง - การเกงขาสั้น, กรามที่แข็งแรง, แบบฉบับของร่างกาย
ถึงแม้ว่าหน้าอกหรือเต้านมอาจบ่งชี้ถึงความเป็นหญิง แต่ตำแหน่งของมือและเท้า, กล้ามเนื้อหน้าท้องที่ดูตึง, คาง, แก้ม, สไตล์ทรงผม, และการแสดงออกของใบหน้า ต่างก็เป็นตัวบ่งชี้ทั้งหมดถึงความเป็นชายมากกว่าหญิง. มันคล้ายคลึงกับดาราภาพยนตร์ Leonardo di Caprio (ภาพโฆษณานี้ได้รับการถ่ายและปรากฏขึ้นมาในปี ค.ศ. 1997) ซึ่งได้เสนอภาพของผู้ชายและความปรารถนาไปพร้อมกัน
การที่เลือกภาพประกอบที่ 4. มาสาธิต ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ภาพต่างๆได้ถูกสร้างขึ้นมาจากการรวมตัวกันของสิ่งบ่งชี้ซึ่งมีนัยสำคัญต่างๆอย่างไร. คุณสามารถที่จะทดลองกระบวนการในทำนองเดียวกันนี้ได้ โดยการค้นหาปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญในภาพๆหนึ่ง และแสดงมันต่อหน้าผู้คนทั้งหลาย เพื่อดูว่าพวกเขาเหล่านั้นอ่านมันอย่างไร. ถัดจากนั้น ดูว่าพวกเขาอ่านภาพทั้งหมดที่เห็นกันอย่างไร
ภาพประกอบที่ 5.
ภาพถ่ายยังแสดงให้เห็นด้วยว่า ภาพต่างๆเกี่ยวกับเพศสภาพและความเป็นเพศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรนับจากทศวรรษที่ 1990s เป็นต้นมา
ก่อนที่ผมจะพบภาพนี้เข้าโดยบังเอิญ เพื่อนคนหนึ่งได้บอกกับผมว่า เขาชอบผู้ชายคนหนึ่ง "นมของเขา ผมสามารถจับได้". ผมถูกตีและกระหน่ำโดยการเปลี่ยนย้ายตำแหน่งอันนี้ของการแสดงออกของเพศชาย ซึ่งมีต่อเพศตรงข้ามในลักษณะที่มีทัศนคติแบบตายตัวเกี่ยวกับความเป็นหญิงที่น่าปรารถนา - เต้านมใหญ่ - ไปสู่การรักร่วมเพศซึ่งปรารถนาผู้ชายด้วยกันเอง. ถัดจากนั้นก็ได้มาพบภาพๆนี้ ซึ่งดูเหมือนจะให้ภาพแบบฉบับของร่างกาย ซึ่งเพื่อนของผมจะพบว่ามันน่าสนใจมาก
ภาพดังกล่าวนำมาจาก Perth magazine, Xpress, ซึ่งนำเสนอสู่ตลาดของคนหนุ่มสาวอย่างแข็งขัน. มันคือนิตยสารรายสัปดาห์ที่แนะนำเกี่ยวกับเรื่องราวเหตุการณ์ที่ป๊อปปิวล่าร์ต่างๆ, เช่น แนะนำเรื่องของภาพยนตร์, ดนตรี, แฟชั่น, และอื่นๆซึ่งเป็นเรื่องของวัยรุ่น และบรรดาผู้บริโภคของมัน ซึ่งเป็นคนที่มีความต้องการทางเพศกับเพศตรงข้ามที่มีอิทธิพลมากกว่า. ผมเสนอแนะว่า ขณะที่ภาพนี้สร้างความดึงดูดใจสำหรับผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้หญิงที่มีความรักต่างเพศ โดยเฉพาะบรรดาแฟนๆของ di Caprio, มันก็ได้ให้ความพึงพอใจกับคนที่รักร่วมเพศด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะผู้บริโภคชาวเกย์
อันนี้ได้แสดงให้เห็นว่าภาพต่างๆที่มีลักษณะตอบสนองบรรดาคนที่นิยมการรักร่วมเพศ สามารถที่จะหมุนเวียนหรือแพร่หลายอย่างง่ายดายเพียงใดในสื่อซึ่งเป็นที่นิยม ซึ่งอันนี้ควบคู่กันไปกับลูกค้าที่พวกรักต่างเพศทั่วๆไป. ในเวลาเดียวกัน ความกำกวมคลุมเครือ ซึ่งผมได้ชี้ไปยังกรณีต่างๆเกี่ยวกับภาพของหน้าอกของนายแบบผู้นี้ ได้แสดงให้เห็นว่า อัตลักษณ์ของเพศสภาพมันกำลังกลายเป็นอะไรที่เบลอๆเพิ่มขึ้น
ภาพประกอบที่ 6.
ลองเขียนคำบรรยายที่แสดงนัยะสำหรับภาพการ์ตูนนี้ (ดูภาพประกอบที่ 8.) ซึ่งอธิบายว่า ทำไมผู้หญิงคนนี้จึงถูกรูดซิบปาก. อีกทางเลือกหนึ่ง เขียนคำอธิบายหนึ่งบรรทัดสำหรับภาพการ์ตูนนี้. เพศสภาพคือจุดโฟกัสของแบบฝึกหัดนี้
แบบฝึกหัดแสดงความคิดเห็น (Exercise commentary)
นอกจากคำอธิบายต่างๆ อย่างเช่น "รูดซิบปากคุณเสีย" หรือ"ริมฝีปากฉันถูกปิด" ชนิดของคำอธิบายซึ่งผู้คนได้เขียนลงไปสำหรับภาพประกอบที่ 8. มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในสองประเภทด้วยกันคือ, ประเภทที่แสดงการต่อต้านผู้หญิง และประเภทที่ให้การสนับสนุนผู้หญิง(anti-women and pro-women).
นอกจากคำอธิบายต่างๆ อย่างเช่น "รูดซิบปากคุณเสีย" หรือ"ริมฝีปากฉันถูกปิด" ชนิดของคำอธิบายซึ่งผู้คนได้เขียนลงไปสำหรับภาพประกอบที่ 8. มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในสองประเภทด้วยกันคือ, ประเภทที่แสดงการต่อต้านผู้หญิง และประเภทที่ให้การสนับสนุนผู้หญิง(anti-women and pro-women).
คำอธิบายซึ่งเป็นไปในทำนองต่อต้านผู้หญิงจะผันแปรไปบนแนวทางเกี่ยวกับว่า "ผู้หญิงไม่เคยหยุดพูด, และสิ่งที่เธอพูดนั้นแทบจะไม่มีอะไรซึ่งมีค่าควรแก่การฟังเลย", "ผู้หญิงต้องถูกทำให้เงียบ", และอื่นๆ. ส่วนคำอธิบายซึ่งแสดงการสนับสนุนผู้หญิงนั้น จะผันแปรไปบนแนวทางเกี่ยวกับว่า "ผู้หญิงไม่เคยได้รับอนุญาตให้พูด", "เสียงต่างๆของผู้หญิงได้รับการปฏิเสธ". ตัวอย่างต่างๆเกี่ยวกับคำอธิบายภาพนี้ ล้วนเหมาะสมกับภาพการ์ตูนทั้งสิ้น
เราได้นำเสนอมาตั้งแต่ต้นแล้วถึงไอเดียเกี่ยวกับการอ่านแบบครอบงำหรือการอ่านแบบชื่มชอบ (prefered or dominant reading). การอ่านแบบครอบงำเป็นการอ่านที่คำนึงถึงข้อมูลในตัวมันเอง - มันถูกใส่ระหัสอย่างไร - บริบททางวัฒนธรรมของมัน และค่านิยมทางสังคมส่วนใหญ่ของผู้อ่าน. ในภาพการ์ตูนนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำอธิบายทั้งสองประเภท, "ต่อต้านผู้หญิง"และ"สนับสนุนผู้หญิง", คุณจะบอกว่ามันเป็นการอ่านแบบชื่นชอบ / ครอบงำใช่ไหม? เราเสนอว่าคำตอบต่อคำถามนี้ เป็นการอ่านแบบต่อต้านผู้หญิง ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ
1. ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับเครื่องหมายและขนบจารีตของการ์ตูนในตัวมันเอง: ภาพวาดของผู้หญิงคล้ายๆกับภาพเหล่านั้นในการ์ตูนบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่ป๊อปปิวล่าร์ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย, ภาพการ์ตูนทั้งหลายจะแสดงหรือนำเสนอผู้หญิงในฐานะภรรยาที่บ่นอุบบ่นอิบไร้สาระ(คล้ายๆไก่ที่มันร้องกุ๊กๆอยู่ตลอดเวลา), เป็นคุณแม่ที่จู้จี้ขี้บ่น, ชอบพูดจาถากถาง ค่อนแคะและหาเรื่องจับผิด, เป็นแม่บ้านที่ชอบนินทาว่าร้าย, หรือน้องสาวที่ชอบบงการ (ดังเช่นในการ์ตูน Peanuts)
ภาพลักษณ์ต่างๆนั้น ดึงมาจากทัศนคติที่ตายตัวเกี่ยวกับผู้หญิงของคนที่ชอบแบ่งแยกทางเพศที่คุ้นเคยกัน. การแสดงออกในลักษณะที่ไม่มีความสุขของเธอเป็นเรื่องเชิงลบด้วย ซึ่งตรงข้ามกับภาพสื่อส่วนใหญ่เกี่ยวกับผู้หญิง ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นคนที่ดึงดูดจิตใจ, มีความสุข, และชอบยิ้ม. สิ่งสำคัญในที่นี้คือว่า อันนี้ไปสัมพันธ์กับระหัสและขนบจารีตต่างๆที่นิยมกัน ซึ่งทำให้ทัศนะเชิงลบอันหนึ่งเกี่ยวกับผู้หญิงปรากฏขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง
2. การอ่านในเชิงวัฒนธรรมในลักษณะที่ครอบงำ / ชื่นชอบ เป็นการอ่านที่ต่อต้านผู้หญิง แม้ว่าภาพนั้นอาจมารับใช้เพื่อนำเสนอภาพผู้หญิงว่าเป็นผู้ที่ถูกทำให้เงียบก็ตาม. อันนี้เป็นเพราะการอ่านแบบชื่มชอบ เข้ากันได้หรือเหมาะสมกับไอเดียหรือความคิดที่นิยมกันเกี่ยวกับเพศสภาพ และ"สามัญสำนึก"ที่โดดเด่นของวัฒนธรรมซึ่งมีการแบ่งแยกทางเพศ, วัฒนธรรมแบบปิตาธิปไตยที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ที่ว่า ผู้หญิงไม่เคยหยุดพูดเลย. เพียงถ้าหากว่าภาพนี้ถูกวางอยู่ในบริบทของพวกเรียกร้องสิทธิสตรี(feminist), บริบทซึ่งให้การสนับสนุนผู้หญิง - ยกตัวอย่างเช่น นิตยสารของกลุ่มสิทธิสตรี - ซึ่งการอ่านแบบครอบงำจะเสนอว่า ผู้หญิงถูกปฏิเสธการมีสิทธิ์มีเสียงของเธอไป
เราไม่ได้กำลังให้การสนับสนุนการอ่านแบบพวกที่ชอบกีดกันทางเพศ หรือชอบแบ่งแยกทางเพศ. อันที่จริงเรากำลังชี้แจงว่า สมมุติฐานต่างๆเกี่ยวกับเพศสภาพ ซึ่งการอ่านในลักษณะหนึ่งที่ได้รับการวางพื้นฐาน มันเป็นลักษณะที่โดดเด่นในวัฒนธรรมของเรา ณ ช่วงขณะหนึ่ง เราใช้ภาพการ์ตูนนี้เพื่อเน้นถึงความแตกต่างระหว่างการอ่านแบบชื่นชอบหรือการอ่านแบบครอบงำ กับการอ่านในแบบอื่นๆ และเพื่อเน้นว่าบริบททางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการอ่านแบบครอบงำ / นิยมชมชอบเกี่ยวกับภาพๆหนึ่งอย่างแน่นอน
http://61.47.2.69/~midnight/midarticle/newpage73.html
No comments:
Post a Comment